‘ดร.เอ้’ แจง ทรัพย์สิน หลัง กมธ.ปราบโกง เรียกสอบปมร่ำรวมผิดปกติ

‘ดร.เอ้’ แจง ทรัพย์สิน หลัง กมธ.ปราบโกง เรียกสอบปมร่ำรวมผิดปกติ

ดร.เอ้ แจงเรื่อง ทรัพย์สิน หลังถูก กมธ.ปราบโกง เรียกสอบปมร่ำรวมผิดปกติ อ้างรวมทรัพย์สินกับภรรยาหลังแต่งงาน ทำให้ทรัพย์สินเพิ่มขึ้นร้อยล้าน นาย สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หรือ ดร.เอ้ อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ ตัวแทนผู้สมัครชิงตำแหน่งผู้ว่า กทม. จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวชี้แจง หลังจากที่ถูก คณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ (กมธ.ป.ป.ช.) ของสภาผู้แทนราษฎร ตรวจสอบว่าร่ำรวยผิดปกติหรือไม่

โดยสุชัชวีร์ระบุว่า เหตุที่มีเงินเพิ่มขึ้น เพราะตนเพิ่งแต่งงานจึงนำทรัพย์สินของ นาง สวิตา ปียะวรรณ ไปรวมยื่นด้วย 

และเป็นเรื่องปกติที่เมื่อเวลาผ่านไป มูลค่าของทรัพย์สินจะเพิ่มขึ้น โดยในการยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช.ก็ต้องยื่นหลักฐานการเสียภาษีด้วย ยืนยันว่าทำทุกอย่างถูกต้องและใช้ชีวิตอย่างโปร่งใส ทั้งนี้ ในปี 2564 ตนมีทรัพย์สิน 141 ล้านบาท ภรรยามี 200 ล้านบาท และอย่าลืมดูตรงส่วนของหนี้สินหลายสิบล้านบาท ที่เกิดจากการสร้างบ้าน (กู้เงินมาสร้าง 35 ล้านบาท)

“ส่วนทรัพย์สินของผมที่เพิ่มขึ้น (จาก 74 ล้านบาทเป็น 141 ล้านบาท) เพราะผมเป็นวิศวกรอาชีพด้วย รายได้ส่วนหนึ่งมาจากการประกอบอาชีพนี้ ไม่รวมถึงเบี้ยประชุม โบนัส และการเพิ่มขึ้นของมูลค่าหุ้นและกองทุนต่างๆ โดยปีล่าสุดมีรายได้รวมกันกว่า 19 ล้านบาท”

สุชัชวีร์แจกแจงที่มารายของตัวเองว่า เป็นรายได้จาก สจล. แบ่งเป็นเงินเดือนราชการในฐานะศาสตราจารย์ 1 แสนบาท และเงินประจำตำแหน่งอธิการบดี ระหว่าง 1-4 แสนบาท ไม่รวมถึงการเป็นกรรมการบริษัทต่างๆ ที่ต้องการวิศวกร ที่ปลายปีจะได้โบนัสอีก

ทั้งนี้ แนวทางการจัด Travel Bubble เป็นการเปิดประเทศเพื่อการท่องเที่ยวตามพื้นที่ที่กำหนด เน้นการควบคุมและจัดการการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ให้อยู่ในมาตรการทางสาธารณสุข ซึ่งผู้ที่เดินทางภายใต้ Travel Bubble สามารถเดินทางภายใน Bubble ดังกล่าวได้โดยไม่ต้องถูกกักตัว ซึ่งจะทำเป็นข้อตกลงร่วมกันในลักษณะทวิภาคี (Bilateral Agreement) เพื่อกำหนดจำนวนคนที่จะอนุญาตให้เดินทางแลกเปลี่ยนกัน รวมทั้งการจัดการพิเศษ (Special Protocols) ได้แก่ การขอวีซ่า การโดยสารเครื่องบิน ที่พัก การเยี่ยมเยือน การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และผู้รับประกัน

“นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางแห่งการท่องเที่ยวน่าสนใจจากชาวต่างชาติ แม้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เนื่องจากประเทศไทยมีจุดเด่นที่ เอกลักษณ์และความสวยงามทางวัฒนธรรม ตลอดจนความเป็นไทยที่มีมิตรภาพ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้การต้อนรับชาวต่างชาติ เป็นที่ประทับใจ รวมทั้งมีมาตรฐานทางสาธารณสุขที่ดี ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับความนิยมเสมอมา

ซึ่งในเวลานี้ รัฐบาลได้สนับสนุนฟื้นฟูการท่องเที่ยวในรูปแบบท่องเที่ยววิถีใหม่ (New normal) เพื่อสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยทางสาธารณสุข ที่ต้องใช้เป็นปัจจัยควบคู่กันดึงดูดนักท่องเที่ยวเป็นพื้นฐานสำคัญต่อยอดไปเพื่อการพัฒนาแนวทางเพื่อการท่องเที่ยวในอนาคต ” นายธนกรฯ กล่าว

‘ธนกร’ เผย นายกฯ สั่งทุกฝ่ายเตรียม แผนเผชิญเหตุโควิด

สำนักโฆษกนายกฯ เปิดเผยว่า ประยุทธ์ สั่ง ศธ.-สธ. และ มท. เตรียม แผนเผชิญเหตุโควิด ย้ำอย่านิ่งนอนใจ การ์ดอย่าตก

นาย ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในปัจจุบันอยู่ในภาวะที่ยังทรงตัวและยังมีการควบคุมได้ดี อย่างไรก็ดี ในสัปดาห์หน้าหลาย ๆ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจะเริ่มมีการเข้ามาทำงานที่สถานที่ตั้งหรือออฟฟิศ ขณะเดียวกันเริ่มมีการหารือจากกระทรวงศึกษาธิการในการเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดให้มีการเรียนการสอนในโรงเรียนหรือ onsite ในโรงเรียนที่มีความพร้อมมากขึ้น

ทั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ขอให้ทุกฝ่ายเตรียมความพร้อม และยังคงปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ยังได้มีการสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งระดมหารือเตรียมความพร้อม บูรณาการการทำงาน ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเตรียมพร้อมแผนเผชิญเหตุ รวมทั้งเตรียมแนวทาง มาตรการ และการดำเนินการเพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกด้วย

ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ มีการรายงานว่าขณะนี้ ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้มีการฉีดวัคซีนเข็มแรกไป 99% และเข็ม 2 กว่า 80% เช่นเดียวกับนักเรียนในกลุ่มอายุ 12-17 ปี 11 เดือน 29 วันที่ได้ฉีดวัคซีนเข็มแรกและเข็ม 2 ไปแล้วกว่า 80% ซึ่งโรงเรียนที่จะเปิดทำการเรียน onsite ได้นั้น ต้องได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด

นอกจากนี้ยังขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็น 6 มาตรการหลัก (DMHC-RC) 6 มาตรการเสริม (SSE-CQ) 7 มาตรการเข้มงวด และการจัดทำแผนเผชิญเหตุ ด้านกระทรวงสาธารณสุขได้มีการเร่งระดมฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เป็นวัคซีนในกุล่ม mRNA

โดยวัคซีนที่จะนำมาฉีดให้เด็ก จะคำนึงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยเป็นสำคัญ ซึ่งกระทรวงมหาดไทย ก็จะทำงานประสานโดยผ่านกลไกของ ศบค. ในแต่ละจังหวัดเพื่อจับตาดูสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในแต่ละพื้นที่อีกด้วย

Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป